อ.จงชัย เจนหัตถการกิจ

อ.จงชัย เจนหัตถการกิจ
นมัสเตอัสตุ

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ต้นหนามพรม หรือ พรม
ชื่อวิทยาศาสตร์  Carissa spinarum L.
Carissa cochinchinensis Pit.
วงศ์ APOCYNACEAE ชื่อสามัญ - ชื่อท้องถิ่น
พรม ขี้แฮด(ภาคเหนือ) พรมบ้าน พรมป่า
            ลักษณะทางพฤกษ์ศาสตร์ ไม้ พุ่มรอเลื้อยสูง 4 - 5 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนาม แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้าม ใบรูปไข่กลับ ผิวใบและขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด กลีบดอกสีขาวมี 5 กลีบ มีกลิ่นหอมมากครับ
 
จนลงกลางชานร้านดอกไม้                     ของขุนช้างสร้างไว้อยู่ดาษดื่น
รวยรสเกษรเมื่อค่อนคืน                                       ชื่นชื่นลมชายสบายใจ
กระถางแถวแก้วเกดพิกุลแกม                                ยี่สุ่นแซมมะสังดัดดูไสว
สมอรัดดัดทรงสมละไม                                       ตะขบข่อยตั้งไว้จังหวะกัน
ตะโกนาทิ้งกิ่งประกับยอด                                    แทงทวยทอดอินพรหมนมสวรรค์
บ้างผลิดอกออกช่ออยู่ชูชัน                                   แสงพระจันทร์จับแจ่มกระจ่างตา
ยี่สุ่นกุหลาบมะลิซ้อน                                          ซ่อนชู้ชูกลิ่นถวิลหา
ลำดวนยวนใจให้ไคลคลา                                     สายหยุดหยุดช้าแล้วยืนชม......"
เสภาขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง ได้นางแก้วกิริยา ตอนนี้ มักนำมาถามในข้อสอบว่า มีชื่อต้นไม้กี่ชนิด ส่วนใหญ่มักจะลืมต้น "พรหม"   ซึ่งคงหมายถึงต้น "พรม" หรือ "หนามพรม"  บางครั้งชาวบ้านเรียกว่า ท้าวมหาพรหม ก็มี ปัจจุบันมักนิยมนำมาปลูกเป็นบอนไซ ครับ   ที่บ้านมีอยู่ ต้นหนึงครับ ดอกหอมมากๆ   
ต้นไม้ในบทนี้  มีชื่อ อยู่ 18 ชนิดดังนี้ (ยี่สุน ซ้ำกัน 1 ชื่อ)
1. แก้ว    2. เกด    3. พิกุล    4. ยี่สุ่น     5. มะสัง    6. สมอ   7.  ตะขบ   8. ข่อย    9. ตะโกนา 
10. แทงทวย     11. อิน   12. พรหม  13.นมสวรรค์    14. กุหลาบ    15. มะลิซ้อน   16. ซ่อนชู้
     
17. ลำดวน     18. สายหยุด

                                                                     หนามพรม ที่นำมาปลูกเป็นบอนไซ

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555




     โคลงกลบทจาตุรทิศ




  อาศิรวาทเทิดไท้ภูมิพล













หล้า





รื่น ร่ม แผ่น



หทัย  ไผท   เกศ

ชื่น ชุ่ม  ฉ่ำ  ภูมิพล   ปัก   ปก ปวง

น้ำ ไท้   ไทย



เกียรติ เทิด   ทูน





ฟ้า













๏ ชุ่มชื่นชุ่มฉ่ำน้ำ            ชุ่มหทัย



ร่มรื่นร่มแผ่นไผท            ร่มหล้า



ปกปักปกปวงไทย           ปกเกศ



เทิดเกียรติเทิดทูนฟ้า        เทิดไท้ภูมิพล ๚๛



          โคลงกลบทจาตุรทิศ





















พร้อง





เพราะ พูด จริง



ดี วจี    สุข

เหตุ คิด ผล ครองตน     กิจ   กอปร  การณ์

ได้ คุ้ม     คดี



เพชร เกราะ ปก





ป้อง













๏ คิดเหตุคิดผลได้             คิดดี



พูดเพราะพูดจริงวจี            พูดพร้อง



กอปรกิจกอปรการณ์คดี       กอปรสุข



เกราะเพชรเกราะปกป้อง      เกราะคุ้มครองตน ๚๛ 










         โคลงกลบทจาตุรทิศ













เกรี้ยว





เกลียด โกรธ กราด



ชัง ประดัง ศักดิ์

ต่ำ ความ ชั่ว สังสาร ลาภ โลภ หลง

ช้า ซ้ำ ยัง



ว่าย ย่อม เวียน





เลี้ยว












๏ ความต่ำความชั่วช้า             ความชัง


โกรธเกลียดโกรธกราดประดัง     โกรธเกรี้ยว


โลภลาภโลภหลงยัง               โลภศักดิ์



ย่อมว่ายย่อมเวียนเลี้ยว          ย่อมซ้ำสังสาร  ๚๛ 

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โคลง ไม่ เคลง

อย่า ผักชีโรยหน้า

    ผัก  ชีโรยหน้าชอบ      ทำกัน
ชี วิตเสแสร้งมัน              ฃั่วช้า
โรย คำแต่งเสกสรรค์        ลวงหลอก
หน้า เกลียดน่าขายหน้า     ศักดิ๋ไร้ปราศศรี


Haiku Dhamma
เวลากลืนกินทุกสิ่ง
ผู้สามารถกลืนกินเวลา
ผู้รู้แจ้งเห็นจริง

ผู้เขลาชอบกองเพลิง
ถูกเผาไหม้เจ็บแสบปวดร้อน 
ความสุขของคนเขลา


ฉันนี่แหละฝ่ายถูก
ส่วนเธอแน่นอนเป็นฝ่ายผิด
เธอต้องเชื่อฟังฉัน


ทั้งฝ่ายถูกและฝ่ายผิด
ต่างถูกทิฐิเผาไหม้ใจ
เร่าร้อนไม่เป็นสุข

ถือดีอวดดี ไม่ดี
ถือชั่วอวดชั่ว ก็ไม่ดี 
คิด พูด ทำดี  ดี


อย่าคิดเปลี่ยนคนอื่น
เพราะพระเจ้าสร้างความแตกต่าง
ทุกคนเป็นอิสระ


ระบบระเบียบระบอบ
ไม่สามารถจัดจิตใจคน
พุทธะเกิดขึ้นในอดีต 


เบียดเบียนตนเป็นทุกข์
เบียนผู้อื่นก็เป็นทุกข์
เมตตาเป็นสุขแท้


จัดการตนเองก่อน
ปราบความชั่วร้ายในตนก่อน
ข่มจิตให้สงบก่อน

 






 
 
 

วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Haiku

ฉันแหงนมองท้องฟ้า
ค่ำคืนของเพื่อนร่วมอวกาศ
เราคงได้พบกัน




เจ้ามนุษย์ตัวเล็ก
อย่าเที่ยวหาความสุขที่ไหน
ที่ตัวเจ้านั่นไง

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พระราชดำรัสตรัสธรรมล้ำเลิศประเสริฐยิ่ง

                                                          


                   สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่เคารพรัก


ท่านผู้อ่านที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ส่วนใหญ่คงเป็นคนไทย ที่อยู่ในประเทศไทย พูดภาษาไทย และบางคนก็เป็นครูภาษาไทยอีกด้วย น่าภาคภูมิใจนะครับ ที่เราได้เกิดมาเป็นคนไทย ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เป็นพสกนิกรของพระองค์ ได้อยู่ในร่มพระบวรพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่นๆตามศรัทธาของตน เรามีอิสระและเสรี เป็นชนชาติที่คงความเป็นเอกราช มีอารยธรรมและภาษาของตนเอง


เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2553 นี้ ผมขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายคำประพันธ์เฉลิมพระเกียรติ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์อาเศียรวาท ทศพิธราชธรรมาธิราชสดุดี มีใจความดังนี้


ทศพิธราชธรรมาธิราชสดุดี


สัททุลวิกกีฬิตฉันท์


๏ ปวงข้าบาทคณะเตรียมอุดมสิขสถาน


น้อมเศียรศิรากราน พระบาท


๏ พร้อมพรั่งตั้งมนภักติภูมิพลราช


ยินดีวโรกาส สมัย


๏ แปดสิบสามศุภฤกษะวรรษะดิถิมัย


ทวยเทพประทานให้ พระพร


๏ ทรงธรรมถ้วนทศพิธราชวตรธร


ดับทุกข์นิกรร้อน ก็เย็น


๏ ทรงทานศีลบริจาคะอาชวะบำเพ็ญ


มุ่งหมายขจัดเข็ญ ประชา


๏ อ่อนโยนมัททวะสมกษัตริย์จริยา


ติดดินขจรฟ้า จรูญ


๏ พากเพียรพร้อมตบะเผากิเลสมลสูญ


เพิ่มกิจกุศลพูน วิศาล


๏ มักอักโกธอวิหิงสะภาวะชนะพาล


ผองหมู่อธรรมลาญ ประลัย


๏ อดทนขันติวิถีปลาตสถุลไกล


อดกลั้นแสดงให้ ประจักษ์


๏ ครองครรลองอวิโรจน์สถิตนิติพิทักษ์


แผ่สัจธรรมหลัก ประทาน


๏ ซาบซึ้งราชดำรัสประศาสน์เหมาะเฉพาะกาล


รู้รักสมัครสมาน ไผท


๏ ใช้ปัญญาสติเตือนประสานหิริฤทัย


หน้าที่ระลึกไว้ กระทำ


๏ รำลึกในพระมหากรุณวิริยะตรำ


ตรากทรงริเริ่มดำ - ริงาน


๏ โครงการหลวงชยพัฒนานิธิประทาน


ทวยราษฏรสุขศานติ์ สกล


๏ เสโทพัสสะประโปรยชโลมทิพยมนตร์


ก่อเกื้อสฤษฎิ์ผล สราญ


๏ นอบน้อมจิตตะถวายพระพรชัยยะฐิตกาล


พระชนมยืนนาน นิรันดร์ ๚๛


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ


ข้าพระพุทธเจ้านายจงชัย เจนหัตถการกิจ






ในแต่ละปีผมได้มีโอกาสถ่ายทอดความรู้สึกประทับใจ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ


ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อนำไปอ่านในรายการโทรทัศน์ หรือนำลงในวารสารหรือรายงานประจำปีของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาอย่างสม่ำเสมอ และหัวข้อบทความที่ท่านกำลังอ่านก็มาจากความประทับใจในเนื้อความตอนหนึ่งจากบทอาเศียรวาทข้างต้น ว่า


“๏ ซาบซึ้งราชดำรัสประศาสน์เหมาะเฉพาะกาล


รู้รักสมัครสมาน ไผท


๏ ใช้ปัญญาสติเตือนประสานหิริฤทัย


หน้าที่ระลึกไว้ กระทำ”






ในแต่ละปี พสกนิกรชาวไทยต่างก็รอคอยโอกาสที่จะได้ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเฉลิมพระชนมพรรษา และมีใจจดจ่อที่จะได้ฟังพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งมักจะพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยเป็นประจำทุกปี


ผมรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันไพศาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวงชนชาวไทยอย่างยิ่ง ที่ทรงพระเมตตาพระราชทานพระราชดำรัสอันล้ำค่า วิญญูชนย่อมทราบซึ้งในพระราชดำรัสอันประกอบไปด้วยธรรมนั้น ซึ่งเหมาะแก่กาล แจ่มแจ้ง ชัดเจน เป็นสัจธรรม ล้วนสามารถน้อมนำมาปฏิบัติพัฒนาตนให้เห็นผลจริงได้เสมอ ดังเช่นเรื่อง ความเพียรของพระมหาชนก ความซื่อสัตย์จงรักภักดีของทองแดง ความรู้รักสามัคคี และการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เป็นต้น


ผู้เขียนขออัญเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จออกมหาสมาคมในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๒ ณ พระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัย วันเสาร์ ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ ความดังนี้


“…ความสุขความสวัสดีของข้าพเจ้าจะเกิดมีขึ้นได้ ก็ด้วยบ้านเมืองของเรามีความเจริญ


มั่นคงเป็นปรกติสุข ความเจริญมั่นคงทั้งนั้น จะสำเร็จผลเป็นจริงได้ ก็ด้วยทุกคนทุกฝ่ายในชาติ มุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง ด้วยสติรู้ตัว ด้วยปัญญารู้คิด และด้วยความสุจริตจริงใจโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น จึงขอให้ท่านทั้งหลายในที่นี้ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ อยู่ในสถาบันหลักของประเทศ และชาวไทยทุกคน ทุกหมู่เหล่าทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนให้กระจ่าง แล้วตั้งจิตตั้งใจให้ซื่อตรง หนักแน่น ที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ส่วนร่วมอันไพบูลย์ คือ ชาติบ้านเมืองอันเป็นถิ่นที่อยู่ที่ทำกินของเรา มีความเจริญมั่นคง ยั่งยืนไกล...”






พระราชดำรัสตรัสธรรม ล้ำเลิศ ประเสิรฐยิ่ง


ผู้เขียนเห็นภาพพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรม พระราชทานทางสว่างแก่ปวงประชาของพระองค์ ด้วยพระเมตตาอันหาที่เปรียบมิได้






บ้านเมืองเป็นปรกติสุขเกิดขึ้นได้อย่างไร


ปรกติสุขเป็นเช่นไร สุขที่ใจก่อน ตนก็เป็นสุข ตนเป็นสุขครอบครัวก็เป็นสุข


ครอบครัวเป็นสุข สังคมก็เป็นปรกติสุข บ้านเมืองก็เป็นปรกติสุข


ใจเป็นสุขได้อย่างไร ใจรู้จักละวางความเห็นแก่ตัว ปฏิบัติหน้าที่เพื่อหน้าที่ มิใช่เพื่อตัวเอง


ปฏิบัติเต็มกำลังความสามารถ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทำงานเพื่อผลของงาน เท่านี้ใจก็เป็นสุข


ใจเป็นสุขได้อย่างไร ใจมีสติรู้ตัว ว่าฉันคิดดีหรือคิดชั่ว มีปัญญารู้คิดสิ่งนี้เป็นประโยชน์


แก่ตน เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ไม่เป็นโทษ วิญญูชนรับรองว่าดี ถูก ควร


ใจเป็นสุขได้อย่างไร ใจรู้สึกถึงลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ติดตามได้ตลอดก็เป็นสุข เป็น


ปรกติสุขที่ไม่ต้องใช้เงินซื้อ ไม่ต้องดิ้นรนแสวงหา ใจเป็นสมาธิ เท่านี้ใจก็เป็นสุข


ใจเป็นสุขได้อย่างไร ใจซื่อตรงย่อมเป็นสุข รู้แยกแยะความดีความชั่ว มีใจสุจริตจึงทำแต่


ความดี รังเกียจความชั่วจึงละชั่ว มีใจเป็นสมาธิใจจึงบริสุทธิ์ เท่านี้ก็ใจเป็นสุข


ใจเป็นสุขได้อย่างไร เมื่อถูกพระยามารกิเลสตัณหายื่นอามิสเงินตราสุรานารีซื้อความสุจริต


จริงใจ หากรับไว้ ความสุขใจก็หายไป เพราะรู้อยู่แก่ใจ ว่าเมื่อความสุจริตจริงใจหายไป ก็เหลือแต่ความทุจริต หลอกลวง อกุศล พระยามารให้ทำความชั่วใดๆก็ต้องทำตาม จะโกหก หลอกลวง ปลิ้นปล้อน ใส่ร้าย ป้ายสี เบียดเบียนผู้อื่น ก็ย่อมทำได้ แต่ไม่เคยมีความสุขใจ หากมีสติรู้ตัว ปัญญารู้คิด มีใจซื่อตรงหนักแน่น มั่นคงไม่หวั่นไหว ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้างของพระยามาร แม้คนจนที่สุดไม่มีอะไรจะกิน ไม่มีเสื้อผ้าจะห่มกาย ก็สามารถปฏิเสธพระยามารได้ ท่านคงไม่ยากจนขนาดนั้น ท่านก็สามารถปฏิเสธพระยามารได้เช่นกัน มีใจมั่นคงตั้งมั่นในสุจริตธรรม เท่านี้ใจก็สงบ ใจก็เป็นสุข


ใจเป็นสุขได้อย่างไร เพราะตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ 10 ประการ ได้แก่ กายกรรม มี 3


ประการ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วจีกรรม มี 4 ประการ คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ มโนกรรม มี 3 ประการคือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้าย เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม ตั้งอยู่ในทางแห่งความดี เท่านี้ใจก็เป็นสุข






ใจเป็นสุขได้อย่างไร เพราะมีสติตัวรู้ว่าตนได้ทำแต่ความดี ทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี เมื่อทำความดีผลดีย่อมสำเร็จแล้ว จึงมิควร ยึดมั่นว่าเราได้ทำดี ด้วยการอวดดี และถือดี คิดว่าตนดีกว่าคนอื่น เก่งกว่าคนอื่น ฉลาดกว่าคนอื่น มีความสามารถมากกว่าคนอื่น คนอื่นต้องเชื่อเรา ต้องคิดตามเรา ต้องทำตามเรา ต้องนับถือเรา เราควรอยู่เหนือผู้อื่น เมื่อคนอื่นไม่เชื่อเรา ไม่เห็นด้วยกับเรา ไม่คล้อยตามกับเรา เราก็เป็นทุกข์ หลงตน หลงทำความชั่วโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นพึงทำความดีเพื่อความดี แต่ไม่อวดดี ไม่ถือดี ไม่ยึดมั่นสิ่งทั้งหลายทั้งปวง รู้จักปล่อยวาง เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกฎแห่งกรรม


มนุษย์ผู้มีใจสูงได้ชื่อว่าวิญญูชนย่อมรู้ย่อมเห็นพฤติกรรมการกระทำของคน สามารถแยกแยะได้ว่าคนใดเป็นเช่นไร คนโลภย่อมรับสินบนเพื่อทำความชั่ว ไม่ตั้งอยู่ในทำนองคลองธรรม เห็นผิดเป็นชอบ แสดงอาการพยาบาทอาฆาตมาดร้าย พูดโกหกไม่สะทกสะท้าน ทั้งส่อเสียดหยาบคาย เสกสรรปั้นแต่งเรื่องเพ้อเจ้อ ลักทรัพย์ ประพฤติชั่วทางกาม เบียดเบียนผู้อื่น ทำความเดือดเนื้อร้อนใจให้แก่ผู้อื่น บ้างถึงกับฆ่าผู้อื่น


ความทุกข์ ความวุ่นวาย ความไม่ปรกติสุขของบ้านเมือง แท้จริงแล้วเกิดที่ใจตน หากตนละเลยธรรม ละเลยหน้าที่ หมกมุ่นแต่กิเลสตัณหา มัวเมาในลาภยศสรรเสิรญสุข เสพติดอำนาจวาสนาไม่นำพาสัจธรรม ถือตนเป็นใหญ่ ไม่ฟังใคร ไม่เข้าใจใคร ใจร้อนรุ่มดังถูกแผดเผาด้วยไฟนรก คนแหล่านั้นจึงมิรู้จักความเป็นปรกติสุข เพราะคิดว่าความสุขเกิดจากวัตถุทรัพย์สมบัติลาภยศอำนาจวาสนา


ปรกติสุขนั้นอยู่ในตัวเรา อยู่ที่ใจของเรา


ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ท่านมีหน้าที่อะไร จงเร่งปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลังความสามารถตามพระราชดำรัสเถิด


“ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง ด้วยสติรู้ตัว ด้วยปัญญารู้คิด และด้วยความสุจริตจริงใจโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น”


เรียบง่าย แจ่มชัด และทรงพลัง


ไม่ว่าจะมีตำแหน่ง หรือหน้าที่อะไร เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย จงเริ่มต้นที่ใจ จง


เริ่มต้นที่ใจ คนไทยเมื่อทำผิดพลาด ก็รู้จักอโหสิกรรมและให้อภัย รู้จักทำใจ รุ้เท่าทันสถานการณ์ เผชิญปัญหาด้วยสติปัญญา ไม่หลงไปทำผิดซ้ำสองอีก ชาวไทยที่รัก ท่านพึงทำความเข้าใจหน้าที่ของท่านกระจ่าง การปฏิบัติหน้าที่คือการปฏิบัติธรรม ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ใจ จงแสวงหาปรกติสุขในใจของท่านให้พบเถิด ครอบครัวของท่านจักเป็นสุข สังคมไทยจักเป็นสุขและ “ชาติบ้านเมืองอันเป็นถิ่นที่อยู่ที่ทำกินของเรา จักมีความเจริญมั่นคง ยั่งยืนไกล” เมื่อ “บ้านเมืองของเรามีความเจริญมั่นคงเป็นปรกติสุข ความเจริญมั่นคงทั้งนั้น” แล้ว ความสุขความสวัสดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะบังเกิดมีขึ้นได้ ซึ่งก็เป็นความปรารถนาอันสูงยิ่งและความสุขอันจริงแท้ของปวงชนชาวไทยทั้งหลายเช่นกัน



24 สิงหาคม 2553


อ.จงชัย เจนหัตถการกิจ

ทศพิธราชธรรมาธิราชสดุดี

                                      ทศพิธราชธรรมาธิราชสดุดี

สัททุลวิกกีฬิตฉันท์


                                                ๏ ปวงข้าบาทคณะเตรียมอุดมสิขสถาน


                             น้อมเศียรศิรากราน                พระบาท


                             ๏ พร้อมพรั่งตั้งมนภักติภูมิพลราช


                              ยินดีวโรกาส                        สมัย


                             ๏ แปดสิบสามศุภฤกษะวรรษะดิถิมัย


                              ทวยเทพประทานให้             พระพร


                             ๏ ทรงธรรมถ้วนทศพิธราชวตรธร
             
                             ดับทุกข์นิกรร้อน                   ก็เย็น


                             ๏ ทรงทานศีลบริจาคะอาชวะบำเพ็ญ


                              มุ่งหมายขจัดเข็ญ                ประชา


                             ๏ อ่อนโยนมัททวะสมกษัตริย์จริยา


                              ติดดินขจรฟ้า                       จรูญ


                             ๏ พากเพียรพร้อมตบะเผากิเลสมลสูญ


                              เพิ่มกิจกุศลพูน                    วิศาล


                             ๏ มักอักโกธอวิหิงสะภาวะชนะพาล


                              ผองหมู่อธรรมลาญ               ประลัย
 
                             ๏ อดทนขันติวิถีปลาตสถุลไกล


                              อดกลั้นแสดงให้                   ประจักษ์


                             ๏ ครองครรลองอวิโรจน์สถิตนิติพิทักษ์


                              แผ่สัจธรรมหลัก                   ประทาน


                              ๏ ซาบซึ้งราชดำรัสประศาสน์เหมาะเฉพาะกาล


                              รู้รักสมัครสมาน                    ไผท


                              ๏ ใช้ปัญญาสติเตือนประสานหิริฤทัย


                              หน้าที่ระลึกไว้                      กระทำ


                              ๏ รำลึกในพระมหากรุณวิริยะตรำ


                               ตรากทรงริเริ่มดำ -               ริงาน


                              ๏ โครงการหลวงชยพัฒนานิธิประทาน


                               ทวยราษฏรสุขศานติ์                  สกล
              
                              ๏ เสโทพัสสะประโปรยชโลมทิพยมนตร์


                               ก่อเกื้อสฤษฎิ์ผล                      สราญ


                               ๏ นอบน้อมจิตตะถวายพระพรชัยยะฐิตกาล


                               พระชนมยืนนาน                      นิรันดร์ ๚๛

                                                                           ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ


                                                                 ข้าพระพุทธเจ้านายจงชัย เจนหัตถการกิจ  ประพันธ์